งานอาคารสถานที่
อาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและยานพาหนะของโรงเรียนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณค่า โดยรู้จักใช้อาคารสถานที่และยานพาหนะให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการควบคุม ตรวจสอบ ดูแล รักษาส่งเสริมให้ผู้ใช้รู้จักบำรุงรักษาอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพดีสามารถให้บริการแก่ครู นักเรียน ชุมชนและสนองความต้องการได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีขอบข่ายและภารกิจดังนี้
๑. งานอาคารสถานที่
๒. งานจัดบรรยากาศ และสภาพแวดล้อม
๓. งานยานพาหนะ และจราจรโรงเรียน
๔. โครงการพัฒนาอาคารสถานที่
การบริหารอาคารสถานที่ โรงเรียนได้ดำเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่อัน ได้แก่ การจัดหา การควบคุมดูแลรักษา การใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด การให้บริการชุมชน และการส่งเสริมบำรุงรักษาอาคารสถานที่ที่มีอยู่ให้คงสภาพดีถูกหลักวิชา สนองความต้องการได้อย่างพอเพียง เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากที่สุด และประหยัดที่สุด
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อวางแผนการใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๒. เพื่อควบคุมดูแลบำรุงรักษาซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งานเสมอ
ขั้นตอนการดำเนินงาน
๑. แต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาอาคารสถานที่ และผู้รับผิดชอบ โดยมีผู้รับผิดชอบดูแลอาคารทุกอาคาร พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดประจำทุกตึก
๒ .กำหนดตารางการใช้อาคารสถานที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม การบริการประชาชนทั้งในและนอกเวลาราชการ
๓. แต่งตั้งคณะกรรมการดูแลบำรุงรักษาอาคารเรียนแต่ละหลัง ประกอบด้วยครู นักเรียน นักการภารโรง ทำหน้าที่
§ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประดับตกแต่งและพัฒนาสภาพแวดล้อมของอาคารที่รับผิดชอบ
§ ประเมินและตรวจสอบความแข็งแรง การชำรุด เสียหาย รอยร้าว รอยทรุด ทั้งหลังคา ผนัง เพดาน ความสวยงามน่าดูของอาคารเรียน ตรวจสอบระบบไฟฟ้า และน้ำประปา ตรวจสอบสิ่งที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่อาคารเรียน เช่น ปลวก
§ รายงานต่อคณะกรรมการพัฒนาอาคารสถานที่เพื่อซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้คงสภาพเดิม
๔. ควบคุมการใช้อาคารสถานที่ให้เป็นไปตามระเบียบของกรุงเทพมหานครโดยดำเนินการดังนี้
๔.๑ จัดเจ้าหน้าที่เวรรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการและทรัพย์สิน
๔.๒ จัดลำดับความสำคัญพร้อมสถานที่เก็บเอกสารสำคัญและทรัพย์สิน เพื่อการเก็บรักษาให้ความปลอดภัย และสะดวกแก่การขนย้ายเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น
๔.๓ จัดสถานที่สำหรับการติดต่อราชการของบุคคลภายนอก มีระบบการตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัย เช่น ตรวจสอบบัตรประจำตัว ลงชื่อและเวลาในสมุดติดต่อราชการ เป็นต้น
๔.๔ หากมีการก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม ในโรงเรียน ต้องจัดให้มีผู้ควบคุมงานทั้งในและนอกเวลาราชการ ถ้ามีเหตุการณ์ผิดปกติให้รายงานทันที
๔.๕ มอบหมายผู้รับผิดชอบเก็บรักษาลูกกุญแจของทุกห้องเรียน และห้องพิเศษ กำหนดสถานที่เก็บรักษา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเวลาส่งมอบลูกกุญแจ
๔.๖ จัดและปฏิบัติตามแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดับเพลิงให้เพียงพอ ติดตั้งในจุดที่เห็นได้ง่าย สะดวกต่อการใช้งาน ตรวจสอบทุก ๓ เดือน เพื่อให้พร้อมใช้งานได้ จัดระบบสัญญาณแจ้งภัยเมื่อมีเหตุร้ายหรืออัคคีภัย
๕. แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการใช้อาคารสถานที่ มีหน้าที่
§ ติดตามและตรวจสอบการใช้อาคาร สถานที่
§ นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ สังเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย และจุดที่ต้องพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
§ สรุปผลการประเมินการพัฒนาอาคาร สถานที่
§ ดำเนินการผดุง / รักษามาตรฐานการดูแล อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการใช้งาน
§ รายงานการใช้ / ผลการประเมิน / การพัฒนาอาคารสถานที่ต่อผู้อำนวยการโรงเรียน
แผนผังโรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
แผนที่โรงเรียนมัธยมปุรณาวาส
คณะกรรมการผู้รับผิดชอบ
นายสุจินต์ ศรีด้วง
ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
หัวหน้างาน
นายเอกนิจ นิราศภัย
ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
กรรมการ
นายรณชิต นราพันธ์
ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
กรรมการ
นายอิสระ นามปรีดา
ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.๑
กรรมการ
นายสุทธิการ ปากห้วย
ครู รับเงินเดือนอันดับครู คศ.๑
กรรมการ
นายบัณฑิต สุทธิศักดิ์
ครู รับเงินเดือนอันดับครู คศ.๑
กรรมการ
นายเอกพงษ์ คำนึงการ
ครู รับเงินเดือนอันดับครู คศ.๑
กรรมการ
นายชยพล แสงย้อย
ครู รับเงินเดือนอันดับ คศ.๑
กรรมการและเลขานุการ